Video science activities

The Article

Science Research

Teaching Videos

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Science articles For young children


ชื่อบทความ  วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
ผู้เขียน     นาย บุญไทย แสนอุบล
สรุป
   💜การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง  ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้ 


Scientific Research for Early Childhood

ชื่อวิจัย     การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนัก                         วิจัยที่มีต่อ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ                             เด็กปฐมวัย
ผู้ทำการวิจัย   ชยุดา พยุงวงษ์
สรุป
        💜จุดมุ่งหมายในการวิจัย
     1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการ จัดการเรียนรูปแบบเด็กนักวิจัย
     2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองและหลังทดลอง
     💜ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวจิยเชิงทดลอง  ซึ่งทําการศึกษากับกลุ่ม ตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับปฐมวัย โดยผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นทําการทดสอบดวยแบบทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนการทดลอง กับกลุ่มตัวอย่าง และดําเนินการทดลองจนครบ  8 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลอง  นําแบบทดสอบทักษะ กระบวนการวิทยาศาสต ของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้งและนําข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ

Video teaching science For young children






ชื่อวิดีโอ  บูรณาการ สอนวิทย์คณิตด้วยมายากล
ที่มา     โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วย
เทคโนโลยีสารสนเทศ DLIT (Distance Learning Information Technology)
สรุป
💜ในคลิปจะบูรณาการ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มายากล พื้นที่ การวัด รูปร่าง เรขาคณิต ทักษะการคิด การแก้ปัญหา การสื่อสาร กิจกรรม การคิดวิเคราะห์ การวิเคราะห์แบบรูป pattern กลไพ่ แรงและการเคลื่อนที่ ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน การให้เหตุผล การนึกภาพ visualization การให้เหตุผลเชิงปริภูมิ spatial reasoning การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ทักษะการคิดชั้นสูง


วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Record of Learning 4
วันพุธ ที่29 สิงหาคม พ.ศ.2561
The knowledge gained



     💙อาจารย์ทบทวนเรื่องที่จะไปทำกิจกรรมที่เขาดิน ว่ามีอะไรบ้างที่จะต้องเตรียม กิจกรรมการเล่นของแต่ละกลุ่มเล่นอย่างไร มีทั้งหมด 5 กลุ่ม ดังนี้
  1. กลุ่มเล่าสู่กันฟัง
  2. ผจญภัยอะไรเอ๋ย
  3. รองเท้าใครเอ๋ย 
  4. ต่อเติมภาพ
  5. การทดลอง
    และอาจารย์ได้สอนเรื่องพัฒนาการของเด็กกับวิทยาศาสตร์ ดังนี้
  การจัดประสบการณ์       วิทยาศาสตร์       เด็กปฐมวัย
       ↓                                 ↓
 จัดให้เหมาะกับพัฒนาการ                                                                 พัฒนาการ 
                                                     ↓ 
 ลักษณะของพัฒนาการ 
   คล้ายขั้นบันได    
                                                     ↓    
                                     
ความสามารถของเด็กแต่ละวัย
  💙นักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย
  1. ด้านร่างกาย   กีเซลล์
  2. ด้านสติปัญญา  ไวสก็อสกี้ เพียเจต์ บรูนเนอร์
  3. ด้านสังคม   มาสโลว
  4. ด้านคุณธรรม  โคร์เบริก
  5. ด้านภาษา  กานเย่   
  6. การเสริมแรง  สกินเนอรื
  7. การวางเงื่อนไข  พาฟลอฟ
ประเมินอาจารย์  :พูดจนให้นักศึกษาเกิดความคิด ให้นักศึกษาได้คิด
ประเมินเพื่อน     :ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
ประเมินตนเอง    :ตั้งใจตอบคำถาม มีบางครั้งที่ไม่ได้ฟัง  
  


   
Record of Learning 3
วันพุธ ที่22 สิงหาคม พ.ศ.2561
The knowledge gained



        💙 วันนี้อาจารย์มีอบรมประกันคุณภาพ จึงให้นักศึกษามาหาความรู้ที่ห้องสมุดและอาจารย์ได้ตามมาพูดถึงกิจกรรมที่จะไปทำที่เขาดิน โดยให้แต่ละกลุ่มคิดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ที่เขาดิน โดยในการทำกิจกรรมให้เวลา 15 นาที และให้แต่ละกลุ่มพิมพ์ ชื่อกิจกรรม วัตถประสงค์ และวิธีการ รวบรวมส่งอาจารย์ เพื่อจัดทำเป็นโครงการ
    💙เขาดินเป็นเนื้อของวิทยาศาสตร์ให้เด็กเรียนรู้ ในเรื่องของชีวะ สัตว์แต่ละชนิด ลักษณะของสัตว์ และยังสอดคล้องในเรื่องภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน
ประเมินอาจารย์ :อาจารย์ช่วยคิดจุดที่บกพพร่องของกิจกรรมและบอกวิธีแก้ไข
ประเมินเพื่อน  :ตั้งใจฟังและช่วยกันเสนอกิจกรรมภายในกลุ่ม มีการแบ่งงานกัน
ประเมินตนเอง :ช่วยเพื่อนคิด เสนอกิจกรรม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม


วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Record of Learning 2
วันพุธ ที่15 สิิงหาคม พ.ศ.2561
The knowledge gained

      💙วันนี้อาจารย์ได้เริ่มบทเรียนด้วยการพูดเรื่องสวนสัตว์เขาดิน ที่กำลังจะปิดในเร็วๆนี้ ว่าในสวนสัตว์เขาดินมีอะไรเกี่ยวกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บ้าง โดยให้แบ่งกลุ่มละ 5 คน ช่วยกันคิดแล้วเขียนเป็นมายเม็บปิ่งใส่กระดาษ ตกแต่งให้สวยงาม


 💙นี่เป็นงานกลุ่มของดิฉัน กลุ่มของดินฉันแบ่งสัตว์แต่ละชนิดออกมา 5 ชนิดคือ สัตว์นำ้ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว?สะเทือนนำ้สะเทือนบก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก และแต่ละชนิดของสัตว์ได้ยกตัวอย่างสัตว์ 2-3 ตัว โดยมีรายละเอียดดังนี้
  1. ชื่อวิทยาศาสตร์
  2. ถิ่นอาศัย
  3. อาหาร
 ตัวอย่างเช่น พะยูน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dugong duon
ถิ่นอาศัย ทะเลเขตอบอุ่น
อาหาร พืชนำ้ หญ้าทะเล


     และเมื่อทำเสร็จอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มนำมาติดที่หน้าห้อง แล้วแจกกระดาษคนละ 1 แผ่น เพื่อประเมินผลงานของเพื่อนๆแต่ละกลุุ่ม โดยมีเกณฑ์ 5 เป็นคะแนนมากที่สุด และช่วยกันพิจารณาว่าผลงานกลุ่มไหนดีที่สุด


    หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาคิดคำศัพท์ภาษาอังกฤษคนละ 1 คำ โดยต้องคล้องจองกันเพราะพูดต่อๆกัน ดิฉันได้คำว่า Sun แปลว่า พระอาทิตย์
ประเมินอาจารย์ :สอนเกี่ยวกับการใช้ความคิดให้เยอะๆ
ประเมินเพื่อน   :ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม
ประเมินตนเอง  :ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่มอย่างเต็มที่




Record of Learning 1
วันพุธ ที่8 สิงหาคม พ.ศ.2561
The knowledge gained

    💙วันนี้เป็นการเจอกันครั้งแรก แต่อาจารย์ยังไม่ได้เริ่มการเรียนการสอนเพราะอาจารย์ติดการประชุมจึงได้มอบหมายงานให้ไปทำภายในคาบเรียน โดยให้นักศึกษาสร้างบล็อกแล้วรวบรวมส่งภายในวันนี้ก่อน 12.00น. และได้ให้นักศึกษาหาหนังสือวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเด็กในห้องสมุดคนละ 1 เล่ม ถ่ายรูปใส่ในบล็อก


    💙หนังสือวิทยาศาสตร์ที่ดิฉันหามามีชื่อว่า ปลาทะเลไทย ผู้เขียน นกขุนทอง สลิดหิน สินสมุทร

เป็นหนังสือเกี่ยวกับปลาในประเทศไทยแต่ละชนิด ในหนังสือจะมีรูปปลา ชื่อปลาภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีลักษณะทั่วไปของปลา การแพร่กระจาย นิเวศวิทยา สถานภาพ ยกตัวอย่างเช่น




   
   ชื่อไทย ปลาสลิดหินหลังเหลือง
   ชื่ออังกฤษ Scaly Damsel
   ชื่อวิทยาศาสตร์ Pomacentrus lepidogenys
   ลักษณะทั่วไป ลำตัวค่อนข้างสั้น แบนข้าง เกล็ดละเอียด ครีบหางแบบเว้าตื้น ตัวส่วนบนมีสีเทาหรือเทาอมฟ้า 
   การแพร่กระจาย ประเทศไทยพบเฉพาะทะเลอันดามัน
   นิเวศวิทยา อยู่เป็นฝูง 10-30 ตัว ชอบว่ายนำ้อยู่เหนือปะการัง
   สถานภาพ พบได้ค่อนข้างบ่อย
ประเมินอาจารย์ :ให้งานที่สอดคล้องกับวิชา อธิบายเข้าใจ
ประเมินเพื่อน :ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมาย
ประเมินตนเอง :ตั้งใจสืบค้นข้อมูล และทำงานอย่างเต็มที่